ซื้อบ้านมือสองมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง [ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่?]

การคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก่อนซื้อบ้านมือสอง เป็นสิ่งสำคัญ ในบทความนี้ได้รวบรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการซื้อบ้านมือสองไว้ครบถ้วนแล้ว

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อบ้านมือสอง ในบทความนี้จะพาไปดูค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง ที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อว่ามีอะไรบ้าง? ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่?

ขอขอบคุณบทความจาก GHBank

การซื้อบ้านมือสอง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่อยากมีบ้าน เพราะบ้านมือสองมักจะมีราคาที่ถูกกว่าบ้านมือหนึ่ง นอกจากนั้นตัวบ้านยังได้รับการปรับปรุงแล้วก่อนขาย ทำให้บ้านมือสอง พร้อมอยู่เหมือนได้บ้านหลังใหม่ ทำให้บ้านมือสองกลายเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับผู้ที่อยากมีบ้าน

นอกจากการซื้อบ้านมือสองจะต้อง คุณจะต้องเลือกบ้าน และทำเลที่ถูกใจแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องรู้ก่อนซื้อบ้านมือสอง คือการคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก่อนซื้อบ้านมือสอง ซึ่งในบทความนี้ได้รวบรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการซื้อบ้านมือสอง เพื่อให้คุณสามารถเตรียมตัวเรื่องเงินได้พร้อม และไร้ปัญหาในอนาคต

รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง

รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง

ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง จะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายเป็นอย่างดี ซึ่งการซื้อบ้านมือสอง ก็จะมีค่าใช้จ่ายย่อย ๆ ตามมาอีกมากมาย เพื่อเตรียมให้พร้อมสำหรับการโอนบ้านเป็นไปอย่างราบรื่น และเสร็จสมบูรณ์ในวันเดียว คุณจำเป็นที่จะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ค่าจองและค่ามัดจำบ้าน

ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสองอย่างแรกที่จะเกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจซื้อบ้านเรียบร้อยแล้ว คือ ค่าจองและค่ามัดจำบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่คุณจะต้องนำไปให้กับผู้ขายเพื่อเป็นการรับประกันว่าเราต้องการซื้อบ้านมือสองหลังนี้จริง ๆ โดยทั่วไปแล้วในสัญญาจะซื้อจะขายนั้น จะมีการระบุจำนวนเงินในการวางมัดจำบ้าน จะอยู่ที่ประมาณ 5-20% ของราคาขาย ซึ่งผู้ที่สนใจจะจองบ้านมือสอง ต้องชำระเงินเพื่อจองสิทธิ์เอาไว้

2. ค่าประเมินราคาเมื่อขอสินเชื่อ

การขอสินเชื่อบ้านมือสอง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่มีงบจำกัด ไม่สะดวกในการซื้อเงินสด แต่ต้องการซื้อบ้าน ซึ่งการขอสินเชื่อบ้านมือสอง ก็จะมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินที่ธนาคารเรียกเก็บจากคุณ เป็นค่าดำเนินการในการประเมินมูลค่าบ้านเพื่อที่ธนาคารจะได้นำมาประเมินวงเงินสินเชื่อให้คุณ โดยจะมีค่าธรรมเนียมยื่นกู้, ค่าประเมินราคา, และค่าประกันสินเชื่อบ้าน

ค่าประเมินราคาเมื่อขอสินเชื่อ

3. ค่าเบี้ยประกันบ้านมือสอง

การซื้อบ้านมือสอง มีค่าใช้จ่ายอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญ คือค่าเบี้ยประกันบ้านมือสอง ซึ่งเป็นค่าประกันเกี่ยวกับตัวบ้านที่ทางธนาคารขอให้ทางผู้ซื้อบ้านทำ โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • ประกันบ้านภาคบังคับ ซึ่งเป็นประกันที่บังคับต้องทำตามกฎหมาย ซึ่งจะให้ความคุ้มครองด้านโครงสร้างบ้านกรณีที่เกิดไฟไหม้ หรือเป็นประกันอัคคีภัยนั่นเอง
  • ประกันบ้านภาคสมัครใจ เป็นประกันกฎหมาย หรือประกันธนาคารที่ไม่ได้บังคับให้ทำ แต่เป็นการทำประกันด้วยความสมัครใจนั่นเอง

4. ค่าจดจำนอง

ค่าจดจำนอง เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้จ่ายทั้งในบ้านมือหนึ่ง และมือสอง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อบ้านทำการยื่นขอสินเชื่อเพื่อใช้ในการกู้เงินซื้อบ้าน ซึ่งอัตราค่าจดจำนองจะคิดในอัตรา 1% จากราคาจำนอง โดยจะเสียไม่เกิน 200,000 บาท แต่สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านด้วยเงินสดก็จะไม่เสียในส่วนนี้นั่นเอง นอกจากนั้นหากผู้ขายมีการถือครองมาเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี ก็จะมีค่าอากรแสตมป์ราคา 0.50% ของราคาซื้อ-ขาย ซึ่งในส่วนนี้ควรเจรจากับผู้ขาย และควรระบุในสัญญาจะซื้อจะขายให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าโอน

แต่ในปี 2565 รัฐบาลได้มีการดำเนินโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการลดค่าจดทะเบียนจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% สำหรับกรณีซื้อที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว เป็นต้น

5. ค่าโอนกรรมสิทธิ์

ในขั้นตอนของการโอนกรรมสิทธิ์บ้านมือสองจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจบ้านก่อนโอน โดยสามารถเลือกจ้างผู้เชี่ยวชาญให้มาตรวจ หรือจะตรวจด้วยตนเองก็ได้ เพื่อให้สามารถประเมินค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้านก่อนที่จะทำการโอนกรรมสิทธิ์ได้

หลังจากที่มีการยื่นขอสินเชื่อ ตรวจบ้าน รวมถึงชำระค่าประกันต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์ โดยการโอนกรรมสิทธิ์บ้านมือสอง ก็จะมีค่าใช้จ่ายให้กับกรมที่ดิน

6. ค่าติดตั้งมิเตอร์น้ำ – ไฟ

สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านส่วนนี้ จะแตกต่างกันไปตามบ้านแต่ละประเภทโดยขึ้นอยู่กับมาตรวัด ขนาดมิเตอร์ และจำนวนกระแสน้ำ-ไฟที่ปล่อยได้ โดยตรวจสอบกับเจ้าของบ้านคนเก่า หากเจ้าของบ้านเดิมถือสิทธิ์อยู่แล้วเราก็โอนกรรมสิทธิ์ได้เลย ซึ่งต้องเตรียมเอกสารการโอนค่ามิเตอร์น้ำ – ไฟฟ้าให้พร้อมด้วย

สำหรับการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ควรเตรียมเอกสารที่จำเป็นให้พร้อม โดยกรอกแบบฟอร์มคำขอโอนมิเตอร์ พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้โอนและผู้รับโอน และสามารถยื่นเรื่องได้ที่การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทุกสาขา 

เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะโทรแจ้งเพื่อให้ผู้ที่ติดต่อเรื่องไปรับเอกสารระบุการเปลี่ยนชื่อเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า โดยในส่วนนี้ควรมีการตกลงกันให้เรียบร้อยว่าใครจะเป็นผู้ดำเนินการระหว่างเจ้าของบ้านเดิม และผู้ซื้อบ้าน

7. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ภายในบ้าน

หลังจากที่เราทำตามขั้นตอน และทำการดำเนินการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สำหรับบ้านมือสอง ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และงบในการตกแต่งบ้านต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เราสามารถคุมงบประมาณได้ง่าย

สนใจติดต่อดูบ้านได้ที่ SabuyProperty.com

Compare listings

Compare